วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม


1. บทนำ
ปลายศตวรรษที่ 20 โลกได้เข้าสู่ยุคของการปฏิวัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Revolution) มีการนำทรัพยากรสารสนเทศมาใช้งานอย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มีการนำเสนอข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบเพื่อควบคุมการปฏิบัติงาน มีการติดต่อสื่อสารและใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดสินใจ รวมถึงการประมวลผลด้านต่างๆ


ในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 แนวโน้มขององค์กรต่างๆ เริ่มมีการปรับฐานการลงทุนของภาคธุรกิจและ
อุตสาหกรรม ประกอบกับการปรับกระบวนการจัดการของภาครัฐบนฐานของความรู้เทคโนโลยีและการ
สื่อสารซึ่งทั้งหมดนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว 

การปฏิวัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมอย่างมาก เทคโนโลยีและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตและวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคม ทั้งด้านความเป็นอยู่ การสื่อสาร  การทำงาน การคมนาคมและขนส่ง ธุรกิจและอุตสาหกรรม การแพทย์ วัฒนธรรม และการศึกษา


2. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน
ในภาวะปัจจุบันนั้นสารสนเทศได้กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานปัจจัยที่ห้า เพิ่มจากปัจจัยสี่ประการที่มนุษย์เราขาดเสียมิได้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศที่จำเป็น ในการประกอบธุรกิจ ในการค้าขาย การผลิตสินค้า และบริการ หรือการให้บริการสังคม การจัดการทรัพยากรของชาติ การบริหาร
และปกครอง 


ในสมัยสังคมเกษตรนั้น ปัจจัยพื้นฐานในการผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน และทุนทรัพย์ ต่อมา
ในสังคมอุตสาหกรรม การผลิตต้องพึ่งพาปัจจัยพื้นฐานเพิ่มเติม ได้แก่ วัสดุ พลังงาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสารสนเทศ สังคมเกษตรและสังคมอุตสาหกรรมต้องพึ่งพาการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด อันได้แก่ ที่ดินพลังงาน และวัสดุ เป็นอย่างมากและผลของการใช้ทรัพยากรเหล่านั้นอย่างฟุ่มเฟือยและขาดความระมัดระวังก็ได้สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงมาก ตั้งแต่ปัญหาการแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศ  ปัญหาการบ่อนทำลายความสมดุลทางนิเวศวิทยาทั้งป่าดงดิบ ป่าชายเลน ป่าต้นน้ำลำธาร ความแห้งแล้ง อากาศเป็นพิษ แม่น้ำลำคลองที่เต็มไปด้วยสารพิษเจือปน 

ในทางตรงกันข้ามขบวนการผลิต การเก็บ และถ่ายทอดสารสนเทศ อาศัยการใช้วัสดุและพลังงาน
น้อยมาก และไม่มีผลเสียต่อภาวะแวดล้อมหรือมีเพียงเล็กน้อยมากสามารถช่วยให้การผลิตทาง
อุตสาหกรรมใช้วัตถุดิบ และพลังงานน้อยลง มีมลภาวะน้อยลง แต่สินค้ามีคุณภาพดีขึ้นคงทนมากขึ้น ปัญหาวิกฤติทางจราจรในบางด้านก็สามารถผ่อนปรนได้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศนั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าสังคมต่างๆ ในโลก ต่างจะต้องก้าวสู่สังคมสารสนเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่เร็วก็ช้า และนั่นหมายความว่าสังคมจะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างแน่นอน ไม่ว่าเราจะยอมรับหรือ
ไม่ก็ตาม


กล่าวกันอย่างสั้นๆว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา วิเคราะห์ ประมวล
จัดการและจัดเก็บ เรียกใช้หรือแลกเปลี่ยน และเผยแพร่สารสนเทศ ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่
ในรูปแบบของรูป เสียง ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหว รวมไปถึงการนำสารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาของสารสนเทศนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของผู้ใช้ การจัดหา วิเคราะห์ ประมวล และจัดการกับข่าวสารข้อมูลจำนวนมหาศาล จึงขาดเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เสียมิได้


นอกจากการเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ทำลายธรรมชาติหรือสร้างมลภาวะ (ในตัวของมันเอง) ต่อสิ่ง
แวดล้อมแล้ว คุณสมบัติโดดเด่นอื่น ๆ ที่ทำให้มันกลายเป็นเทคโนโลยี ยุทธศาสตร์สำคัญแห่งยุคปัจจุบันและในอนาคตก็คือ ความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถภาพในเกือบทุกๆ กิจกรรม อาทิโดย
1) การลดต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย
2) การเพิ่มคุณภาพของงาน
3) การสร้างกระบวนการหรือกรรมวิธีใหม่ๆ
4) การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ขึ้น


ฉะนั้น โอกาสและขอบเขตการนำ เทคโนโลยีนี้มาใช้ จึงมีหลากหลายในเกือบทุกๆ กิจกรรมก็ว่าได้
ไม่ว่าจะเป็นการปกครอง การให้บริการสังคม การผลิตทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ รวมถึงการ
ค้าทั้งภายในและระหว่างประเทศอีกด้วย โดยพอสรุปได้ดังต่อไปนี้

ภาคสังคม การบริหารและปกครอง การให้บริการพื้นฐานของรัฐ การบริการสาธารณสุข การบริการ
การศึกษา การให้บริการข้อมูลและสาระบันเทิง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
การบรรเทาสาธารณภัย การพยากรณ์อากาศและอุตุนิยม ฯลฯ


ภาคเศรษฐกิจ การเกษตร การป่าไม้ การประมง การสำรวจและขุดเจาะน้ำมันและก๊าธรรมชาติ
การสำรวจแร่และทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนและใต้ผิวโลก การก่อสร้าง การคมนาคมทั้งทางบก น้ำ และ
อากาศ การค้าภายในและระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมบริการ อาทิ ธุรกิจการท่อง
เที่ยว การเงิน การธนาคาร การขนส่ง และการประกันภัย ฯลฯ



3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาสังคม
เทคโนโลยีสารสนเทศจัดว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศของทุกประเทศก็ว่าได้ ไม่
ว่าจะเป็น ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะแม้ว่าเทคโนโลยีนี้จะยังไม่มีบทบาทโดดเด่นในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและการค้าในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม

แต่ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในด้านการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านการจัดให้บริการสังคมพื้นฐาน (การศึกษาและ การสาธารณสุข ฯลฯ) ในการบริหารประเทศ และในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

4. สารสนเทศกับบุคคล
การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความต้องการและการใช้สารสนเทศของบุคคลเพิ่ม
มากขึ้น สารสนเทศมีการใช้สารสนเทศเพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่ตนเกี่ยวข้อง และนำความรู้ความเข้าใจมาตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว ทันเวลากับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม เป็นเรื่องที่มีความสำคัญไม่จำกัดเฉพาะนิสิตนักศึกษา นักวิชาการ แต่มีความสำคัญกับบุคคลในทุกสาขาอาชีพและทุกวัย


5. สารสนเทศกับสังคม
สารสนเทศนอกจากมีความสำคัญต่อตัวบุคคลดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีความสำคัญต่อสังคมในด้าน
ต่างๆ  ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านวัฒนธรรม

5.1 ด้านการศึกษา
การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำ
ช่วยเหลือ และกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ส่งผลให้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา จะช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ

5.2 ด้านสังคม
สารสนเทศช่วยพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคลให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
อย่างมีความสุข อีกทั้งช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค เกิดการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำมาซึ่งความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต 

5.3 ด้านเศรษฐกิจ
สารสนเทศมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เรียกว่า เศรษฐกิจบนฐานความรู้
(Knowledge-based Economy) หน่วยงานหรือผู้ประกอบการธุรกิจให้ความสำคัญกับ “การจัดการความ
รู้” (knowledge management) เพื่อรักษาองค์ความรู้ขององค์กรไว้ สารสนเทศด้านธุรกิจการค้าจึงถือ
เป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญในการแข่งขัน ทั้งนี้เพราะสารสนเทศช่วยประหยัดเวลาในการผลิต ลดขั้นตอนการลองผิดลองถูก อีกทั้งช่วยให้องค์กรได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้ตามความต้องการของตลาด


5.4 ด้านวัฒนธรรม
สารสนเทศเป็นรากฐานที่จำเป็นสำหรับความก้าวหน้าของอารยธรรม สารสนเทศช่วยสืบทอด ค่านิยม
ทัศนคติ ศิลปะ และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันดีงามของชาติ ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ความสามัคคีความมั่นคงในชาติ


6. บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
ขณะนี้เกือบทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาคุณภาพ
ประชาชนโดยเน้นที่การศึกษา เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกากำหนดนโยบายว่าในปี 2000 ทุกโรงเรียนจะต้องมีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยหนึ่งเครื่องต่อนักเรียนห้าคนวิธีการดังกล่าวจะอาศัยแหล่งความรู้และสารสนเทศจากทั่วโลก ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน เพราะการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีความจำเป็นต่อทุกคน ทั้งต่อการพัฒนาตนเองนำไปสู่การพัฒนาการงานอาชีพ และการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น คนจะพัฒนาตนเองได้ต้องแสวงหาความรู้อยู่เสมอ


ตัวอย่างเช่น ประเทศสิงคโปร์ เป็นประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆ มีประชากรสามล้านคนเศษ เป็นประเทศที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นทั้งเมืองและประเทศ ในขณะเดียวกันสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการศึกษามากเพราถือว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เท่านั้นที่จะช่วยยกระดับการพัฒนาประเทศแข่งกับประเทศอื่นๆ ใน
โลกได้ และได้ประกาศตัวเป็น “นครแห่งการเรียนรู้ (Learning Metropolis)”


ในปัจจุบันประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยได้นำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อ
การศึกษาเพิ่มมากขึ้น เนื่องด้วยคุณลักษณะที่เอื้อต่อการศึกษา ทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนคนไทยในหลายมิติทคโนโลยีลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายการ
ศึกษาที่เป็น “การศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน (Education for All)” อันเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียมทางการศึกษา


การนำเสนอสื่อการศึกษาในปัจจุบันยังมีความหลากหลาย โดยมีการนำเสนอด้วยเสียง ข้อความ ภาพ และภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเอื้อต่อการเรียนรู้และกระตุ้นความสนใจในการศึกษาของผู้เรียนทุกวัย
เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนต่อการฝึกอบรม การประชุมและการติดต่อสื่อสาร เช่น การอบรม
ทางไกล(Tele-Training) การประชุมทางไกล(Tele-Conference) การประชุมผ่านอินเทอร์เน็ต(Internet
Conference) ซึ่งทำให้การฝึกอบรมประหยัดเวลาและงบประมาณ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ บุคลากร
และเวลา























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น