วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน

แนวคิด
            สารสนเทศมีส่วนในการดำเนินชีวิตของเราทั้งการทำงานและวิถีชีวิตประจำวัน ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลและความสามารถในการรับ - ส่งหรือการสื่อสารข้อมูลได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก องค์กรต่างๆ ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจ โดยการตัดสินใจเป็นกิจกรรมที่สำคัญและต้องทำได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว   
1.บทนำ
         
แนวโน้มในอนาคตภายในครอบครัวจะมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันกันมากขึ้น เช่น โทรศัพท์ วิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ วีดิเท็กซ์ ไมโครคอมพิวเตอร์ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงมีความสำคัญมากในปัจจุบันเพราะเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนับตั้งแต่การผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ และการสื่อสารสารสนเทศรวมทั้งการแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ซึ่งความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศสรุปได้ ดังนี้


                     - ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน
                     - ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาซับซ้อน การจัดเรียง ลำดับสารสนเทศ ฯลฯ
                     - ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก
                     - ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการจัดเก็บประมวลผล และเรียกใช้สารสนเทศ
                     - ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
                     - ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทาง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ
             บทบาทที่เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนในการดำเนินชีวิตของเราไม่ว่าที่ทำงานหรือบ้าน ในชีวิต ประจำวัน จะเห็นได้ว่า ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล และความสามารถในการส่งหรือการสื่อสาร ข้อมูลได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ด้วยวิวัฒนาการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาไปมาก นอกจากจะ ใช้ดำเนินการแล้ว ยังนำมาใช้ในการจัดการด้านธุรกิจด้วย เช่น ธุรกิจทางธนาคาร, การประกันภัย, การท่อง เที่ยว, โรงงาน, โรงแรม, โรงพยาบาล, ระบบการศึกษา เป็นต้น


2. ขอบข่ายของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ  ขอบข่ายของเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์และกระบวนการหลาย ด้าน เช่น การสื่อสารระบบดาวเทียม เทคโนโลยีการจัดการฐานข้อมูล การจัดพิมพ์ระบบอิเล็กทรอนิกส์ การประมวลผลตัวเลข การประมวลผลภาพ
2.1 ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานประจำและทำการบันทึกจัดเก็บ ประมวลผลที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และให้สารสนเทศสรุปเบื้องต้นของการปฏิบัติงานประจำวันโดยมากจะนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาทำงานแทนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลมากขึ้น
 2.2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) เป็นระบบ สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับกลางเพื่อใช้ในการวางแผนบริหารจัดการและควบคุมงาน โดยทั่วไประบบนี้จะเชื่อมโยงข้อมูลที่อยู่ในระบบประมวลผลเข้าด้วยกันเพื่อสร้างสารสนเทศที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการ บริหารอย่างมีประสิทธิภาพ
 2.3 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจสำหรับปัญหาที่อาจมีโครงสร้างหรือขั้นตอนการหาคำตอบที่แน่นอนตายตัวเพียงบางส่วนหรือ เป็นกรณีเฉพาะนอกจากนี้ระบบนี้ยังเสนอทางเลือกต่างๆให้ผู้บริหารพิจารณา เพื่อเลือกทางเลือกที่เหมาะ สมที่สุด หลักการของระบบสนับสนุนการตัดสินใจสร้างขึ้นจากแนวคิดการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ใช้โต้ตอบตรงกับระบบทำให้สามารถวิเคราะห์ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและกระบวนการ พิจารณาได้ตลอดเวลาโดยอาศัยประสบการณ์วิจารณญาณและความสามารถของผู้บริหารเอง

3 .หน้าที่ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีหน้าที่ที่จะช่วยให้ผู้ใช้ได้รับ “สารสนเทศ” ตามที่ต้องการถ้าปราศจากเทคโนโลยีสารสนเทศแล้วจะเป็นการยากอย่างยิ่งในการสื่อสารสารสนเทศทั้งนี้เพราะในภาวะปัจจุบันมี สารนิเทศจำนวนมากมายมหาศาล เพราะการเพิ่มปริมาณของเอกสาร อย่างล้นเหลือ (Publication Explosion) ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “INFORMATION EXPLOSION” ประกอบกับสภาพวะเงินเฟ้อรวมทั้งความคาดหวังของผู้ใช้สารสนเทศที่ตื่นตัวและมีความต้องการสารสนเทศทั้งในแง่ของความรวดเร็วและความถูกต้องจึงทำให้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศมีประโยชน์ต่อผู้ใช้สรุปได้ดังนี้

- ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันอย่างรวดเร็วทั้งโทรศัพท์ โทรสาร อินเตอร์เน็ตฯลฯ
-เทคโนโลยีสารนิเทศใช้ในการจัดระบบข่าวสารซึ่งผลิตออกมาแต่ละวันเป็นจำนวนมหาศาล
- ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้อย่างสะดวกไม่ว่าจะใช้กี่ครั้งก็ตาม
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรในด้านการคำนวณ ตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ
- ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติ เพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารสนเทศ
- สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองผลกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
- อำนวยความสะดวกใน “การเข้าถึงสารสนเทศ” (ACCESS) ดีกว่าสมัยก่อนทำให้บุคคลและองค์กร มีทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า
- ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ


4. การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาหลายเรื่องด้วยกันได้แก่
4.1 การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศด้านใดบ้างที่จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน จะเห็นแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นสามารถนำ
ไปประยุกต์ได้หลายด้าน แม้ในสำนักงานก็มีเทคโนโลยีให้เลือกใช้ได้ มากมาย เช่น เทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ ระบบประมวลภาพลักษณ์ ระบบประชุมทางไกล
4.2 การวางแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หน่วยงานขนาดใหญ่ระดับกระทรวง กรม หรือ บริษัทขนาดใหญ่จำเป็นจะต้องมีแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นแผนที่สำหรับ นำไปสู่การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.3 การกำหนดมาตรฐาน เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำงานร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานต่างๆ มาตรฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีอยู่หลายเรื่องมาตรฐานทางด้านตัว เครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องเป็นแบบที่ทำให้เครื่องและอุปกรณ์ทั้งหลายทำงานร่วมกันได
4.4 การลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เราควรลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมากสักเท่าใดนี่เป็นคำถามที่ยังหาคำตอบไม่ได้ชัดเจน และทำให้ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศมีปัญหากับผู้บริหารองค์กร เพราะผู้บริหารองค์กรไม่เข้าใจว่าเหตุใดจึงต้องลงทุนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไปมากนัก หรือเหตุใดลงทุนไปแล้วสามารถไม่ได้ผลตอบแทนเท่าที่ควร
4.5 การจัดองค์กรเมื่อมีแผนงานและงบประมาณสำหรับดำเนินการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว ต่อไปก็จำเป็นที่จะต้องพยายามสร้างองค์กรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานให้เข้มแข็งมากขึ้น โดยคำนึงถึง
- หน่วยงานที่จะดูแลทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- บุคลากรที่เหมาะ
- ผลตอบแทนต่อบุคลากร
 4.6 การบริหารงานพัฒนาระบบ การพัฒนาระบบนั้นเป็นงานที่ต้องวางแผนอย่างดีและต้องมีหัวหน้าโครงการที่มีความรู้ทั้งทางด้านเทคนิคและทางด้านการสื่อสารทั้งด้วยวาจาและเป็นเอกสาร
4.7การจัดการผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คือพยายามทำให้ผู้ใช้มีความรู้สึกที่ดีต่อแผนกเทคโนโลยี สารสนเทศและขณะเดียวกันก็สามารถทำงานให้ตัวเองได้ภายในกฏเกณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงาน เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องการไม่ทำตามมาตรฐานที่กำหนด
4.8 การจัดการข้อมูล ปัญหาคือการแบ่งปันการใช้ข้อมูลการที่แผนกต่างๆ ต้องพยามยามจัดเก็บ ข้อมูลมาใช้เองทำให้ต้องทำงานซ้ำซ้อน และเกิดความสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เพราะฉะนั้นต้องหาทางประสานงานให้ผู้ใช้ทุกหน่วยงานแบ่งปันข้อมูลกัน
 4.9 การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบ การนำเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมมาใช้นั้นเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกทำงานร่วมกับเราได้ถ้าหากบุคคลภายนอกเหล่านี้ทำงานตรงไปตรงมา เราก็คงจะไม่มีปัญหาอะไรงานเทคโนโลยีสารสนเทศจึงจำเป็นจะต้องคิดหาวิธีที่จะป้องกันอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และข้อมูล ไม่ให้ถูกบุคคลภายนอกทำลายได้นอกจากบุคคลภายนอกแล้ว ระบบสารสนเทศและอุปกรณ์ต่างๆ ของเราอาจจะประสบอุบัติภัยในด้านต่างๆ ได้ตลอดเวลา
4.10 ความสัมพันธ์กับผู้บริหาร เราต้องพยายามสร้างผลงานที่ผู้บริหารเห็นแล้วประทับใจต้องพยามยามชี้ว่าการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้นั้นคุ้มค่าเงินลงทุนและทำให้การทำงานโดยรวมมีประสิทธิภาพ
4.11 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ งานวิจัยนี้อาจเป็นเพียงงานขนาดเล็กที่ทำเพื่อให้ เข้าใจผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น เมื่อบริษัทไมโครซอฟต์นำระบบ Windows 95 ออกจำหน่ายก็ต้องศึกษาวิจัยว่าซอฟต์แวร์นี้มีฟังก์ชันอะไรบ้างแตกต่างจากระบบ Windows อื่นๆ อย่างไรต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะมากขนาดไหน
การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ จะมีลักษณะเป็นแบบการประยุกต์ใช้โดยเฉพาะในสภาพสังคม ปัจจุบันมนุษย์สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยปฏิบัติงานในด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิผลได้แก่
5.1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำ
นักงาน ปัจจุบันสำนักงานจำนวนมากได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ความถูกต้อง และสามารถจัดพิมพ์ฉบับซ้ำได้เป็นจำนวนมากเป็นต้น
             ซึ่งการประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานได้ในหลายลักษณะ เช่น งานจัดเก็บเอกสาร ได้แก่ การใช้เครื่องประมวลผลคำ(Word Processing) เป็นเครื่องมือในการจัดเตรียมอุปกรณ์ประกอบการใช้เทคโนโลยีนี้ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็ม และช่องทางการสื่อสาร ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงสารสนเทศระหว่างแผนกหรือระหว่างหน่วยงานทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกที่อยู่ห่างไกล




- งานกระจายเอกสาร เป็นการกระจายสารสนเทศไปยังผู้ใช้ ณ จุดต่างๆ อาจกระทำได้โดยการเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถปฏิบัติงาน ณ จุดนี้ได้โดย อัตโนมัติได้แก่ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เทเลเท็กซ์ โทรสาร ระบบการประชุมทางไกล เป็นต้น
- งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร สามารถปฏิบัติได้ทั้งระบบออนไลน์และระบบออฟไลน์ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมรูปแบบอื่น เช่น ระบบงานฐานข้อมูล เป็นต้น
-งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถดำเนินงานดังกล่าวนี้ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์สร้างภาพ (Computer Graphic Devices) เครื่อง Scanner โทรทัศน์ และ วีดิทัศน์ เป็นต้น
- งานสื่อสารสารสนเทศด้วยเสียง เช่น การใช้โทรศัพท์ การประชุมทางโทรศัพท์การบันทึกข้อมูล เสียงโดยใช้ Sound Blaster เป็นต้น
- งานสื่อสารสารสนเทศด้วยภาพและเสียง เช่น ระบบมัลติมีเดีย ระบบการประชุมทางไกลด้วยภาพและเสียง เป็นต้น
5.2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) เข้ามาช่วยจัดการด้านผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุ การเงิน บุคลากร และงานด้านอื่นๆ ในโรงงาน MIS จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนการออกแบบผลิตภัณฑ์
 5.3 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์ สถาบันการเงินเช่ นธนาคาร ได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของ ATM เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝากถอน โอนเงิน ในส่วนของงานประจำธนาคารต่างนำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยปฏิบัติงาน ทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลธนาคารเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว
 5.4 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการบริการการสื่อสาร ได้แก่ การบริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล (ISDN) เป็นต้น
 5.5 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการสาธารณสุข สามารถนำมาประยุกต์ได้หลายด้านได้แก่
- ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล
-ระบบสาธารณสุข
- ระบบผู้เชี่ยวชาญ 
5.6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กับงานด้านการฝึกอบรมและการศึกษา
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษานั้นมีแนวทางในการใช้มากมายขึ้นแต่ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปมี 6 ประเภท คือ
- การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
- การศึกษาทางไกล 
- เครือข่ายการศึกษา
- การใช้งานห้องสมุด
- การใช้งานในห้องปฏิบัติการ
- การใช้ในงานประจำและงานบริหาร


6. ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social software)

6.1 ความหมาย
ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม คือซอฟต์แวร์ที่ทำให้ผู้คนสามารถนัดพบปะ เชื่อมสัมพันธ์หรือทำงานร่วมกันโดยมีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางเกิดเป็นสังคมหรือชุมชนออนไลน์
6.2ชนิดของเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
เครื่องมือซอฟต์แวร์สังคมสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ เครื่องมือเพื่อการสื่อสารและเครื่องมือเพื่อการจัดการความรู้
1) เครื่องมือเพื่อการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารสองฝ่ายไม่พร้อมกัน (asynchronous) คือไม่จำเป็นต้องเผชิญหน้ากันตัวอย่างเช่น การใช้ E-mail , Web board , Newsgroup เป็นต้น
2) เครื่องมือเพื่อการสร้างการจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือในกลุ่มที่ใช้เพื่อประโยชน์เพื่อการจัดการความรู้มีหลายอย่าง โดยแบบเบื้องต้นเช่น การสืบค้นข้อมูล ส่วนในระดับถัดมา เป็นเครื่องมือเพื่อการใช้ข้อมูลร่วมกันรวมทั้งให้ความรู้ และสร้างความรู้ใหม่ เช่น Wiki , Blog เป็นต้น 



6.3 ตัวอย่างเครื่องมือทางสังคมต่างๆ
1) Blog
Blog มาจากคำเต็มว่า WeBlog บางครั้งอ่านว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน Blog คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ใน blog นั้นจะมีเนื้อหาเป็นเรื่องใดก็ได้ เช่น การเขียนเรื่องราวของตนเองการเขียนวิจารณ
Blog
ประกอบด้วยข้อความ, hypertext, รูปภาพและลิงค์ (ไปยังเว็บ, วีดีโอ, ข้อมูลเสียงและ อื่นๆ) blog จะอยู่ในรูปบทสนทนาระหว่างเอกสาร โดยผู้ที่ใช้ blog สามารถเขียนข้อความแสดงความคิดเห็นของตนเองได้ ซึ่ง blog มีทั้งเป็น blog เฉพาะบางกลุ่มหรือเป็น blog ทั่วๆ ไปก็ได้ การเพิ่มบทความ ให้กับ blog ที่มีอยู่ เรียกว่า “blogging” บทความใน blog เรียกว่า “posts” หรือ “entries” บุคคลที่โพสลงใน “entries” เหล่านี้เรียกว่า “blogger”
จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ Blog สามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่งที่สามารถสื่อถึงความเป็น กันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ
2) Internet Forum Internet Forum เป็นส่วนหนึ่งใน World Wide Web ที่มีไว้สำหรับเก็บการอภิปรายหรือ ซอฟต์แวร์ที่ให้บริการด้านนี้ฟอรั่มในเว็บเริ่มประมาณปี 1995 โดยทำหน้าที่คล้ายกับ bulletin board และ newsgroup ที่มีมากมายในยุค 1980s และ 1990s ความเป็นชุมชนเสมือนของฟอรั่มเกิดจากผู้ใช้ขาประจำประเด็นที่เป็นที่นิยมของฟอรั่มทั่วไปมีเทคโนโลยีเกมคอมพิวเตอร์ และการเมือง
3) Wiki
Wiki อ่านออกเสียง “wicky”, “weekee” หรือ “veekee” เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถสร้างและแก้ไขหน้าเว็บเพจขึ้นมาใหม่ผ่านทางบราวเซอร์โดยไม่ต้องสร้างเอกสาร html เหมือนแต่ก่อนแต่ Wiki เน้นการทำระบบสารานุกรม , HOWTOs ที่รวมองค์ความรู้หลายๆ แขนงเข้าไว้ด้วยกัน
4) Instant Messaging เป็นการอนุญาตให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลบนเครือข่ายที่เป็นแบบ relative privacy ตัวอย่าง client ที่เป็นที่นิยมเช่น Gtalk, Skype, Meetro, ICQ, Yahoo Messenger , MSN Messenger และ AOL Instant Messenger เป็นต้น 5) Social network services Social network services จะอนุญาตให้ใครก็ได้แบ่งปันความรู้สิ่งที่สนใจต่าง ๆ ร่วมกันเช่น บางที่สร้างเพื่อเอาไว้นัดเดทกัน
6) Social guides
เป็นที่สำหรับการนัดพบกันได้จริงๆ บนโลก เช่น ร้านกาแฟ ร้านอาหาร เป็นต้นตัวอย่าง เช่น CafeSpot, Tagzania และ WikiTravel เป็นต้น
7) Social bookmarking
บางที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถโพส list of bookmark ( favorite websites ) ลงไปได้เพื่อแลกเปลี่ยนแหล่งข้อมูลที่ตนเองสนใจ เช่น Linko , Spurl , BlinkList , RawSugar เป็นต้น
8) Social Citations
มีลักษณะคล้าย socialbookmarkingมาก แต่จะเน้นไปทางด้านการศึกษาของนิสิตนักศึกษาโดยอนุญาตให้ผู้ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ งานวิจัย หรือสาระความรู้ที่สนใจ โดยสามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ ตามแต่ผู้ใช้จะจัดสรรตัวอย่างเช่น CiteUlink เป็นต้น
9) Social Shopping Applications
มีประโยชน์ในเรื่องการเปรียบเทียบสินค้าดูรายการสินค้าเป็นต้น ตัวอย่างเช่น SwagRoll,Kaboodle, thethingsiwant.com และ Yahoo! Shoposphere
10) Internet Relay Chat
Internet Relay Chat หรือ IRC จะอนุญาตให้ผู้ใช้สนทนาในห้อง chat rooms ซึ่งอาจมีหลายๆคนที่เข้าใช้งานในกลุ่มสนทนาในห้องดังกล่าว ผู้ใช้สามารถสร้างห้องใหม่หรือเข้าไปในห้องที่มีอยู่แล้วก็ได้ทั้งนี้ผู้ใช้คนนั้นๆ
11) Knowledge Unifying Initiator (KUI) Knowledge Unifying Initiator หรือเรียกย่อๆ ว่า KUI หรือ “คุย” ในภาษาไทย หมายถึงการสนทนาโดยคำว่า Knowledge Unifying Initiator หมายถึง กลุ่มผู้รวบรวมความรู้โดย KUI จัดว่าเป็นซอฟต์แวร์ทางสังคม(Social Software) และการจัดการความรู้ (Knowledge anagement) เนื่องจากภายในโปรแกรม KUI
6.4 การใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์เพื่อสังคม
ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social software) ใช้ประโยชน์ในการประมวลทางสังคม (Social computing) ในยุคที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นทุนในการพัฒนาสังคมในยุคนี้มีความจำเป็นจะต้องสร้างระบบที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจากสมาชิกในสังคมให้มากที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมใหม่ให้กับภาคประชาสังคม เพื่อให้ประชาคมในทุกภาคส่วนได้มีโอกาสที่จะเข้าถึงและทำงานเพื่อสังคมของตนด้วยตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 7. การสืบค้นสารสนเทศทางอิน

เทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่จนได้รับสมญานามว่า “ห้องสมุดโลก” ซึ่งมีข้อมูล หลากหลายประเภทและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นในการที่เราจะค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ อย่างรวดเร็วนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับแหล่งข้อมูลนี้นั่นคือ มักประสบปัญหาไม่ทราบ ว่าข้อมูลที่ต้องการนั้นอยู่ในเว็บไซต์ใด ดังนั้นจึงได้มีเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า เครื่องมือช่วยค้น หรือ เซิร์ชเอ็นจิน (Search Engine) ในการสืบค้นข้อมูลนั้นถ้าหากเราทราบแหล่งข้อมูลหรือเว็บไซต์ เราก็สามารถพิมพ์หรือระบุ URL ในช่อง Address ได้เลยแต่ถ้าหากเราไม่ทราบว่าแหล่งข้อมูลนั้นอยู่ที่ใดเราสามารถใช้เว็บไซต์ที่เป็น Search Engine ช่วยในการค้นหาได้อย่างรวดเร็ว


7.1 ลักษณะรูปแบบการค้นหาสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ตมี 3 ลักษณะ คือ
1) การค้นแบบนามานุกรม 2) การค้นหาแบบดรรชนี (Index) หรือคำสำคัญ (Keywords)
3) การค้นหาแบบ Metasearch Engines
7.2 เครื่องมือประเภทใช้โปรแกรมค้นหา (Search engines)
โปรแกรมค้นหาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการค้นคืนสารสนเทศบน World Wide Web กันอย่างแพร่หลายจัดทำดรรชนีของเนื้อหาเอกสารบนเว็บไซต์ทีละหน้าโดยจัดทำดรรชนีด้วยเครื่องกล (machine indexing หรือ automatic indexing) ซึ่งเรียกว่า spider, robot หรือ crawlers
 1) การสืบค้นข้อมูล
ผู้ใช้สามารถใช้ Google สืบค้นข้อมูล ด้วยการพิมพ์คำสำคัญหรือวลีที่ต้องการซึ่งผลการค้นคืนแต่ละครั้งจะมีจำนวนมากดังนั้นการคิดเตรียมหาคำสืบค้นหรือเตรียมกลยุทธ์การสืบค้นและการศึกษาลักษณะการสืบค้นของ Google จึงเป็นสิ่งสำคัญโดยทั่วไปการสืบค้นด้วย Google ทำได้โดยคิดหาคำค้นที่จะทำให้ได้ผลการสืบค้นที่ตรงที่สุด
2) ลักษณะการสืบค้นของ Google
-ไม่จำเป็น
ต้องใส่ตัวเชื่อม and (และ) ระหว่างคำโดย Google จะเชื่อมคำอัตโนมัติ

- หาข้อมูลเพิ่มให้เมื่อใช้ตัวเชื่อม OR (หรือ) ตัวพิมพ์ใหญ่ระหว่างคำที่ต้องการ เช่น vacation london OR paris คือหาทั้งใน London และ Paris - Google จะละคำทั่วๆ ไป (เช่น the, to, of, how, where) และตัวอักษรเดี่ยวเพราะจะทำให้ค้น ช้าลงถ้าต้องการค้นหาคำเหล่านี้ต้องเว้นวรรคก่อนแล้วพิมพ์เครื่องหมาย + นำหน้าคำนั้นเช่น computer programming +I
- การค้นหาแบบทั้งวลี (กลุ่มคำ) ให้พิมพ์คำค้นในเครื่องหมายอัญประกาศ (“ “) เช่น “computer programming I” และ “The King and I”
- Google ค้นหาคำที่มีรากศัพท์เดียวกันให้โดยอัตโนมัติ เช่น program จะค้นหาทั้งคำว่า program, programmer, programming และคำอื่นๆ ที่มีรากศัพท์เดียวกับ program
- Google ตัดคำพ้องรูปโดยใช้เครื่องหมาย – นำหน้าคำที่ไม่ต้องการ (เว้นหน้า –หลังไม่เว้น) เช่น คำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลาและดนตรีถ้าจะตัดเว็บเพจที่มีความหมายเกี่ยวกับดนตรีออกก็พิมพ์ bass -music หมายความว่า bass ที่ไม่มีความหมายว่า music นอกจากนี้ยังสามารถตัดสิ่งที่ไม่ ต้องการแสดงในผลลัพธ์ได้ เช่น ขนมไทย -filetype:pdf จะค้นหาเว็บเพจเกี่ยวกับขนมไทยที่ไม่ใช่ไฟล์นามสกุล .pdf - Google ค้นหาที่มีความเหมือนกันโดยใช้เครื่องหมาย “~” เช่น ~food จะค้นหาว่า recipeและ cooking ซึ่งมีความหมายเหมือนกับ food ให้ด้วย
- Google สามารถหาไฟล์ในรูปแบบอื่นๆที่ไม่ใช่ HTML ได้ เช่น .pdf . xls .doc โดยพิมพ์ filetype : นามสกุลของไฟล์ เช่น“LAN” filetype:ppt หมายถึงค้นหาคำว่าLAN ที่เป็นไฟล์นามสกุล.ppt - Google สามารถเก็บหน้าเว็บเพจเก่า (Cached) ได้โดยคลิกที่ Cached (ถูกเก็บไว้) ประโยชน์คือช่วยให้เข้าถึงบางเว็บที่โดนลบไปแล้วโดยจะได้ข้อมูลก่อนถูกลบ