วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556

บทที่1 แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่

1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารสนเทศ
ปัจจุบันนี้เป็นยุคข้อมูล ข่าวสาร และความรู้หรือบางคนอาจกล่าวว่าเป็นยุคของสังคมสารสนเทศที่มีการศึกษาค้นคว้า วิจัยและทดลองในสาขาวิชาต่างๆมากมาย ทำให้เกิดมีความต้องการใช้ ข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีที่รวดเร็วในปัจจุบันนี้
2. ความหมายของสารสนเทศ
สารสนเทศ หรือสารนิเทศ (Information) เป็นคำเดียวกันซึ่งสามารถให้ความหมายอย่างกว้างๆ ว่าหมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันก็มีความหมายในเชิงลึกว่า หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ที่ผ่านการประมวลผล ซึ่งมีความหมายและสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจในชีวิตประจำวันได้
3. ความสำคัญของสารสนเทศ
สารสนเทศเป็นปัจจัยที่สำคัญในโลกปัจจุบันนี้ ทั้งนี้เพราะการกำหนดแนวทางพัฒนา นโยบายทางด้านการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ การศึกษา สังคม และวัฒนธรรมมีความสำคัญต่อการพัฒนามนุษย์และสังคมเพื่อเสริมสร้างความรู้อันที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตทั้งด้านการงานนั้น อีกทั้งเป็นแนวทางในการแก้ไข ปัญหา ช่วยในการวางแผน และช่วยตัดสินใจ อย่างเช่นหากผู้ใดที่รู้จักใฝ่เรียนรู้และได้รับสารสนเทศที่ดี มีคุณค่า และมีความทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ย่อมมีชัยชนะเหนือผู้อื่น ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต โดยเฉพาะการเข้าถึงสารสนเทศของยุคสังคมข่าวสารที่มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร ในการทำงานและการเรียนรู้นั้นจะมีการเข้าถึงสารสนเทศโดยระบบเครือข่าย การติดต่อสื่อสารผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดทั้งการแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารบนระบบอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ต่างๆ 


4. ประเภทของสารสนเทศ


1. สารสนเทศจำแนกตามแหล่งสารสนเทศ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามการรวบรวมหรือจัดกระทำกับสารสนเทศ จำแนกได้ดังนี้
1.1 แหล่งปฐมภูมิ (Primary Source) คือ สารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง เป็นสารสนเทศทางวิชาการ ผลของการศึกษาค้นคว้า วิจัย รายงาน การค้นพบทฤษฎีใหม่ ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม  สารสนเทศประเภทนี้มักจะถูกถ่ายทอดออกมาในลักษณะของสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร รายงานการวิจัย รายงานการประชุมมและสัมมนา
http://web.agri.cmu.ac.th/
1.2 แหล่งทุติยภูมิ (Secondary Source) คือ สารสนเทศที่มีการรวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิอยู่ในรูปแบบการสรุป ย่อเรื่อง จัดหมวดหมู่ ทำดรรชนีและสาระสังเขปเพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงและสามารถใช้ข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ได้แก่ สื่ออ้างอิงประเภทต่าง ๆ วารสารตำรา ที่รวบรวมเนื้อหาวิชาการในการเรียนการสอน สารานุกรมพจนานุกรม รายงานสถิติต่าง ๆ ดรรชนีและสาระสังเขป




1.3 แหล่งตติยภมูิ (Tertiary Source) คือ สารสนเทศที่จัดทำขึ้น เพื่อใช้ในการค้นหาสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมและทุติยภูมิ จะไม่ได้ให้เนื้อหาสาระโดยตรง แต่จะมีประโยชน์ในการค้นหาสารสนเทศที่ให้ความรู้เฉพาะสาขาวิชา ได้แก่ บรรณานุกรม นามานุกรม มักจะออกนำเผยแพร่ในรูปของ CD-ROM
2. สารสนเทศจำแนกตามสื่อที่จัดเก็บ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามชนิดของสื่อที่ใช้ใน
การบันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ได้แก่ กระดาษ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อแสง



2.1 กระดาษ เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล สารสนเทศ ที่ใช้ง่ายต่อการบันทีก รวมทั้งการเขียน
และการพิมพ์ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันจนถึงปัจจุบัน
2.2 วัสดุย่อส่วน เป็นสื่อที่ถูกสำเนาย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์มชนิดต่างๆ ทั้งที่เป็นม้วนและเป็นแผ่น มีการจัดเรียงลำดับเนื้อหาตามต้น เช่น เอกสารจดหมายเหตุ หนังสือพิมพ์ เอกสารสำคัญ วิทยานิพนธ์เป็นต้น
2.3 สื่ออิเล็กทรอนิกหรือสื่อแม่เหล็ก เป็นวัสดุสังเคราะห์เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก สามารถ
บันทึกและแก้ไขข้อมูลได้สะดวกทั้งข้อมูลที่เป็นแอนาล็อก และดิจิตอล เช่น เทปวีดิทัศน์ เทปบันทึกเสียงฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
2.4 สื่อแสงหรือสื่อออปติก (Optical Media) เป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลและอ่านข้อมูล
ด้วยแสงเลเซอร์ เช่น ซีดี-รอม ดีวิดี เป็นต้น ซึ่งมีความจุมากเป็นพิเศษ


5. คุณสมบัติของสารสนเทศ
คุณสมบัติที่ดีของสารสนเทศ ดังนี้ 
1) สามารถเข้าถึงได้ง่าย (Accessibility)    หมายถึงความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงสารสนเทศเพื่อนำสารสนเทศไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจ 
2) มีความถูกต้อง (Accurate)    สารสนเทศที่ดีต้องมีความเที่ยงตรง และเชื่อถือได้ โดยไม่มีความคาดเคลื่อนหรือมีความคาดเคลื่อนน้อยที่สุด 
3) มีความครบถ้วน (Completeness) สารสนเทศที่ดีต้องมีความสมบูรณ์ที่จะช่วยในการตัดสินใจเป็นไปด้วยความถูกต้อง เช่นการกำหนดราคาสินค้า หากได้สารสนเทศไม่ครบทุกด้านหรือเพียงขาดไปด้านใดด้านหนึ่งย่อมทำให้การคำนวณต้นทุนผิดพลาด 
4) ความเหมาะสม (Appropriateness) พิจารณาถึงการได้รับสารสนเทศตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากน้อยเพียงใด 
5) ความทันต่อเวลา (Timeliness) สารสนเทศต้องได้มาให้ทันต่อเวลาในการใช้งาน หมายความว่าสารสนเทศต้องมีระยะเวลาสั้น มีความรวดเร็วในการประมวลผล เพื่อผู้ใช้สารสนเทศจะได้รับสารสนเทศได้ทันเวลา
6) ความชัดเจน (Clarity) คือสารสนเทศที่ไม่ต้องมีการตีความ ไม่กำกวม ไม่คลุมเครือ และไม่ต้อง
หารคำตอบเพิ่มเติม
7) ความยืดหยุ่น (Flexibility) เป็นการนำสารสนเทศไปปรับใช้ได้ในหลายสถานณการณ์ หรือเป็น
สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้อย่างกว้างขวาง มากกว่าเป็นสารสนเทศที่เฉพาะบุคคล
8) ความสามารถในการพิสูจน์ได้ (Verifiability) โดยขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของสารสนเทศว่าใคร
เป็นผู้รับผิดชอบในการผลิต หมายความว่าสารสนเทศนั้นต้องสามารถพิสูจน์หรอตรวสอบได้ว่าเป็นความจริง
9) ความซ้ำซ้อน (Redundancy) สารสนเทศที่ได้รับนั้น มีความซ้ำซ้อน หรือมีมากเกินความ
จำเป็นหรือไม่ ดงนั้นสารสนเทศที่ดีต้องไม่มีความซ้ำซ้อน
10) ความไม่ลำเอียง (Bias) ลักษณะสารสนเทศที่ผลิตขึ้น ไม่มีเจตนาในการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข
สารสนเทศตามที่ได้กำหนดหรือหาข้อยุติไว้ล่วงหน้า

6. แหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
แหล่งสารสนเทศ หมายถึงแหล่งที่เกิด แหล่งที่ผลิต หรือแหล่งที่จัดเก็บและให้บริการทรัพยากร
สารสนเทศ โดยมีบทบาทหน้าที่ต่อสังคมเพื่อการบริการสารสนเทศและส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าแก่ผู้ต้องการสารสนเทศ
1) แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน หมายถึง สถาบันที่ตั้งขึ้นมาเพื่อ จัดหา รวบรวมวัสดุสารสนเทศ
ชนิดต่าง ๆ มาจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ ตัวอย่างเช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ สำนักวิทยบริการ พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ ศูนย์วัฒนธรรม และหอศิลป์เป็นต้น
2) แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ คือ แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่จริง หรือสถานที่จำลอง ซึ่ง
ผู้ใช้สามารถไปศึกษาหารความรู้จากตัวสถานที่เหล่านั้น เช่น ปราสาทเขาพระวิหาร สวนส้ม ไร่นาสวนผสม
3) แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้รอบรู้ในสาขาวิชาต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญบางสาขา
วิชาจะมีผลงานเป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่ผู้ใช้สามารถค้นคว้าได้ด้วยตนเอง เช่น นักบวช กวี ศิลปินนักปราชญ์ ราชบัณฑิต ภูมิปัญญาชาวบ้าน นักวิทยาศาสตร์
4) แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์  ได้แก่กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น 14 ตุลา ในปี พ.ศ. 2516
พฤษาทมิฬ ในปี พ.ศ. 2535 เหตุการณ์ 911 หรือ การก่อการร้ายตึกเวิลด์เทรดเซนเตอร์ เมื่อวันที่ 11 กันยายน2544 การจัดกิจกรรม งานมหกรรม งานบุญประเพณี หรือการประชุมสัมมนาในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นแหล่งสารสนเทศในเรื่องนั้นๆ และจัดเป็นแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ
5) แหล่งสารสนเทมศสื่อมวลชน ซึ่งเป็นแหล่งที่มุ่งเผยแพร่สารสนเทศ ที่เป็นเหตุการณ์ ข่าวสาร โดย
เน้นความทันสมัยต่อเหตุการณ์ เป็นการถ่ายทอดในรูปของการกระจายเสียง ภาพและตัวอักษรโดยผ่านสื่อประเภทวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์
6) แหล่งสารสนเทศที่เป็นอินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งนี้เนื่องจากทั้งหน่วยงานของภาครัฐ เอกชน รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า การค้าขาย และธุรกิจต่างๆได้มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสาร การสนทนาทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การบริการเวิลด์ไวด์เว็บ และสังคมออนไลน์ เป็นต้น

7. ทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resources or Information Materials)
ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง วัสดุหรือสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ความรู้ และ
ความคิดต่างๆ หรืออาจเรียกว่า วัสดุสารสนเทศ
แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
 ทรัพยากรตีพิมพ์ (Printed   Materials) 
ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ (Non printed Materials)  และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Media)

7.1 ประเภทและชนิดของทรัพยากรสารสนเทศ
1) ทรัพยากรตีพิมพ์ (Printed Materials) เป็นสารสนเทศที่มีลักษณะเป็นแผ่น หรือรูปเล่มที่
ตีพิมพ์ในกระดาษ มีขนาดต่าง ๆ กัน และมีหลาหหลายรูปแบบ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร
- หนังสือ (Book) คือ สิ่งพิมพ์ที่เป็นรูปเล่ม มีการบันทึกสารสนเทศเป็นเรื่องราวที่ศึกษาค้นคว้า
วิจัยหรือคิดสร้างสรรค์ จนได้เนื้อหาละเอียดกว้างขวางลึกซึ้งต่อเนื่อง 
- วารสาร (Periodicals) คือ สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serial) ที่มีวาระการออกที่แน่นอน เช่น ราย
สัปดาห์ รายเดือน รายสามเดือน รายหกเดือน เป็นต้น
- หนังสือพิมพ์ (Newspapers) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้สารสนเทศรายวัน เป็นการรายงานข่าวเเหตุ
การณ์ประจำวัน ความเปลี่ยนแปลง ความเป็นไปของสังคมนั้นๆ ให้เป็นที่ทราบโดยทั่วถึงและรวดเร็วที่สุด
- จุลสาร (Pamphlet) เป็นสิ่งพิมพ์ขนาดเล็กที่มีเนื้อหาเฉพาะด้าน อาจจะเป็นกระดาษชิ้นเล็ก
ๆ เพียงแผ่นเดียว หรือเป็นแผ่นพับ 
- กฤตภาค (Clipping) เป็นสิ่งพิมพ์ที่นำเรื่องราว สารสนเทศที่สำคัญจากหนังสือพิมพ์ วารสาร
หรือแผ่นพับ นำมาตัดแล้วผนึกลงบนกระดาษแล้วรวบรวมไว้ให้ผู้ช้ได้ใช้ประโยชน์ต่อไป

2) ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ (Non-print Material) คือทรัพยากรสารสนเทศที่มีลักษณะสำคัญ ที่
แตกต่างจากทรัพยากรตีพิมพ์ ที่ให้สารสนเทศ ความรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทางหู ตา ด้วยการดูและการฟัง ทำให้สื่อความหมาย เข้าใจง่าย เกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องผู้ใช้สามารถจดจำและเข้าใจเรื่องที่ต้องการศึกษา
- ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เป็นทรัพยากรที่ใช้การมองเห็นหรือสัมผัสเพื่อรับรู้สารสนเทศ
โดยการดู หรืออาจจะดูด้วยตาเปล่า หรือใช้เครื่องมืออุปกรณ์สำหรับฉายประกอบ ได้แก่ แผนภูมิ แผนที่ ภาพนิ่ง ภาพเลื่อน รูปภาพ ลูกโลก แผ่นภาพโปร่งใส หุ่นจำลอง ของจริง เป็นต้น
- โสตวัสดุ (Audio Materials) เป็นวัสดุสารสนเทศที่รับรู้สารสนเทศด้วยการฟังเสียงเพียง
อย่างเดียว ได้แก่ จานเสียงหรือแผ่นเสียง เทปเสียง แผ่นซีดี รายการวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น
- โสตทัศนวัสดุ (Audiovisual Materials) เป็นวัสดุสารสนเทศที่ให้เสียง และภาพเคลื่อนไหว ได้แก่ ภาพยนตร์ วิดทัศน์ วีซีดี ดีวีดี และรายการโทรทัศน์

3) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Materials) หมายถึง การจัดเก็บสารสนเทศที่อยู่ในรูปของ
ดิจิทัล (Digital) ซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์นั่นเอง สามารถบันทึกสารสนเทศได้ทั้งที่เป็นตัว
อักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ได้แก่ ฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยจำแนกออกเป็น
- ฐานข้อมูลออฟไลน์ (Offline Database) เป็นสารสนเทศทีสื่อสารกันได้เฉพาะคอมพิวเตอร์
- ฐานข้อมูลออนไลน์ เป็นแหล่งสารสนเทศที่มีการรวบรวมอย่างป็นระบบ เพื่อความสะดวก
ในการจัดเก็บและค้นหาสารสนเทศ  ปัจจุบันนี้ระบบที่ใช้กันในชีวิตประจำวันก็คืออินเทอร์เน็ต






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น